การศึกษา
ของประเทศไทย
การศึกษา หมายถึง การสอนหรือการฝึกอบรมให้ผู้
เรียนมีความเจริญรุ่งเรืองอย่างเต็มที่ตามความแตกต่างระหว่าง
บุคคลของผู้เรียน
ในภาษาไทยใช้คำว่า “ศึกษา” ซึ่งเป็นภาษาสันสกฤต
แต่พอเป็นภาษาบาลี กลายเป็น “สิกขา” เมื่อแยกศัพท์ออกมา
มาจากคำว่า สะ+อิกขะ+อา สะ ในภาษาบาลี แปลว่า ตัวเอง อิกขะ
แปลว่า มอง, พิจารณา, เห็น
- พุทธทาสภิกขุ กล่าวว่า
“การศึกษา คือ การปฏิบัติศีล สมาธิ และปัญญา การศึกษาที่
สมบูรณ์ต้องทำความเป็นมนุษย์ให้ถูกต้องและสมบูรณ์”
- พระเทพดิลก (ระแบบ ฐิตญาโณ) กล่าวว่า
“การศึกษาในทางพระพุทธศาสนา หมายถึง กระบวนการเรียน
การฝึกอบรม การค้นคว้า วิจัย การพัฒนา ตลอดจนการรู้แจ้งเห็น
จริงในสิ่งทั้งหลายตามสภาพที่เป็นจริงของสิ่งเหล่านั้น มุ่งเน้นไป
ที่การพัฒนากาย วาจา ใจ โดยมีขั้นตอนในการพัฒนาตามหลัก
ของไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ และปัญญา”
- พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) กล่าวว่า
“การศึกษามีจุดมุ่งหมายเพื่อทำชีวิตให้เข้าถึงอิสรภาพ คือทำให้ชีวิตหลุดพ้นจากอำนาจครอบงำจากปัจจัยภายนอกให้มากที่สุดและมีความเป็นใหญ่ในตัวสามารถกำหนดความเป็นอยู่ของตนให้ได้มากที่สุด”
เพราะฉะนั้นในทัศนะของพระพุทธศาสนา การศึกษาคือ การมองตน การพิจารณาตน การควบคุมตน จนกระทั่งการพัฒนาตน โดยความหมายของการศึกษา คือ การพัฒนาและปลูกฝังนิสัยใฝ่รู้ ใฝ่ดีให้กับผู้เรียน อุดมการณ์ของการศึกษาคือ ยิ่งศึกษายิ่งต้องรู้จักตัวเอง รู้จักตน ควบคุมตน แล้วพัฒนาตนให้ได้
การศึกษามีความสำคัญต่อมนุษย์เป็นอย่างมาก คำกล่าวที่ว่าการศึกษาคือชีวิต และชีวิตคือการศึกษา คำกล่าวเช่นนี้ยังคงเป็นความจริงอยู่ตลอดไป ชีวิตมนุษย์ตั้งแต่เริ่มปฏิสนธิในครรภ์มารดาเริ่มมีการศึกษาบ้างแล้ว การศึกษาของมนุษย์จะเริ่มอย่างจริงจังก็ต่อเมื่อชีวิตได้เริ่มลืมตาดูโลก และจะต้องศึกษาอยู่ตลอดไปจนกว่าชีวิตจะจากโลกนี้ไป การศึกษาจึงมีความสำคัญต่อบุคคล สังคม ประเทศชาติ และต่อโลกเป็นอย่างยิ่ง อาจจะกล่าวได้ว่า “ตราบใดที่โลกยังมีมนุษย์ไม่สิ้นสุดการศึกษาต้องอาศัย” เหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะมนุษย์ที่อาศัยโลกอยู่จะต้องอาศัยกระบวนการทางการศึกษาสำหรับการพัฒนาตน เมื่อสมาชิกของสังคมได้รับการพัฒนาอย่างมีคุณภาพแล้ว สังคมและประเทศชาติรวมทั้งโลกด้วยก็จะได้รับการพัฒนาต่อไปด้วย
ความสำคัญของการศึกษา
![]() เด็กฝึกประสบการณ์ช่วงปิดเทอม.jpg |
---|
![]() news_img_58886_1.jpg |
![]() new003t.jpg |
![]() big-3727.jpg |